วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2551

สถิติการเลี้ยงสุกร






สมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 70 หมู่ 6 ตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โทร (032) 281299-300ทีมงาน เวทโปรดักส์ ได้รับเกียรติจากท่าน ส.ส.วิวัฒน์ นิติกาญจนา นายกสมาคมฯ ให้สัมภาษณ์เป็นกรณีพิเศษเกี่ยวกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี เพื่อนำบทสัมภาษณ์ลงหนังสือเวทไดเจสต์ ซึ่งท่านได้เล่าถึงความแนวคิดที่ตั้ง สมาคมฯ ขึ้นมาว่า..ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2547 กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรในเขตห้วยไผ่, อ.เมืองและปากท่อ ประมาณ 29 ฟาร์มได้รวมตัวกันก่อตั้งเป็น “ชมรมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี” โดยมี ส.ส.วิวัฒน์ นิติกาญจนา เป็นประธานชมรมฯ, มีคุณสมชาย นิติกาญจนา เป็นรองประธาน. คุณ วีระชัย เตชะสัตยา เป็นที่ปรึกษาชมรมฯ, คุณสุวดี ธีระสัตยกุล เป็นเลขานุการ และมีทีมงาน เวทโปรดักส์ กรุ๊ป ช่วยประสานงาน วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความสามัคคีความเข้าใจอันดีในกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นชมรมฯ มีการพบปะกันเพื่อกำหนดทิศทางและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันระหว่างสมาชิก นอกจากนั้นทางชมรมฯ ยังได้จัดตั้ง “กองทุนพยุงราคาสุกร” เพื่อใช้ในกิจกรรมเสริมสร้างเสถียรภาพราคาสุกรรวมทั้งเป็นงบดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์สร้างภาพพจน์ที่ดีต่ออุตสาหกรรมการผลิตสุกร ซึ่งทางสมาคมจะเก็บตัวละ 10 บาท จากจำนวนสุกรขุน โดยประมาณจากที่แต่ละฟาร์มจำหน่ายต่อเดือน จะเก็บทุกวันโกนแรกของเดือนโดยมีเป้าหมายที่จำนวน 200 ล้านบาท ท่าน ส.ส. ได้เล่าต่ออีกว่าต่อมาชมรมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี ได้เปลี่ยนสถานะเป็น “สมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี” เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2548 โดยเป็นสมาคมที่ 3 ในวงการสุกรที่ขึ้นทะเบียนสมาคมการค้ากับกระทรวงพาณิชย์ ทีมงานได้สอบถามความแตกต่างของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรีกับสมาคมอื่นๆ ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร …ได้รับคำตอบจากท่านคือ “เราจะเห็นได้ว่าปริมาณการเลี้ยงสุกรในจังหวัดราชบุรีมีจำนวนมากที่สุดในประเทศ ซึ่งก็มีผลกระทบกับราคาขายของสุกรในเขตอื่นๆ นับตั้งแต่มีการก่อตั้งชมรมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรีจนมาเป็น สมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี นับว่าช่วยทำให้ราคาขายสุกรในเขตราชบุรีมีเสถียรภาพมากขึ้นเนื่องจากผู้เลี้ยงสามารถสื่อสารกันได้ทันทีและสามารถตรวจเช็คข้อมูลกันได้โดยตรง นอกจากนี้ “กองทุนพยุงราคาสุกร” ที่จัดตั้งขึ้นก็นับว่าเป็นจุดแข็งที่สำคัญ เพราะเป็นกองทุนแรกที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพของราคาสุกรที่เหมาะสม สำหรับแนวทางการบริหารเงิน “กองทุนพยุงราคาสุกร” ทางสมาคมฯ มีมติว่า เงินกองทุนนี้จะถูกนำมาใช้ตามวัตถุประสงค์โดยช่วงที่ราคาขายสุกรต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ทางคณะกรรมการเงินกองทุนอาจพิจารณานำเงินนี้เข้าไปซื้อสุกรขุนที่ราคาต่ำมากๆ มาชำแหละเข้าห้องเย็นหรือนำมาซื้อลูกสุกรมาทำลายก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมอันจะมีผลต่อภาพรวมของราคาสุกร นอกจากนี้อาจจะนำมาใช้กิจกรรมต่างๆที่ช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีของผู้เลี้ยงสุกรในสายตาผู้บริโภค เป้าหมายของเงินกองทุนนี้คือ 200 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ทางสมาคมฯ สามารถรวบรวมได้เกือบ 10 ล้านบาทแล้วผลงานของสมาคมฯ ที่ผ่านมา ช่วงที่ยังเป็นชมรมฯ เราก็พยายามสร้างเสถียรภาพราคาขายสุกรขุนในเขตและพยายามสร้างความเข้าใจอันดีกับผู้เลี้ยงในจังหวัดใกล้เคียงและเขตอื่นๆ เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทางสมาคมฯได้เป็นตัวแทนยื่นหนังสือชี้แจงความเดือดร้อนจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวของผู้เลี้ยงสุกรในจังหวัดราชบุรี กับ ฯพณฯ สรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ซึ่งท่านก็ได้รับไปพิจารณาหาทางแก้ไขแล้ว มุมมองสำหรับอนาคตของสมาคมฯ นั้น ตามวัตถุประสงค์ของสมาคมที่จะสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้เลี้ยงสุกร พ่อค้า และผู้บริโภค รวมทั้งสมาคมฯพร้อมที่จะผลักดันให้มีการผลิตสุกรที่มีคุณภาพ เนื้อสุกรที่สะอาด ถูกสุขอนามัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ซึ่งก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายทั้งผู้เลี้ยงสุกร พ่อค้ารวมไปถึงหน่วยงานของภาครัฐให้การสนับสนุนด้วยนอกจากนี้ทางสมาคมฯ พร้อมที่จะสนับสนุนการจัดตั้งคณะกรรมการพิกบอร์ดซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในระยะยาวรายชื่อคณะกรรมการสมาคม ฯส.ส.วิวัฒน์ นิติกาญจนา นายกสมาคมคุณสมชาย นิติกาญจนา อุปนายกคนที่ 1คุณอำนวย กุลธนปรีดา อุปนายกคนที่ 2คุณสุวดี ธีระสัตยกุล เลขานุการคุณวัชระ ชุณห์วิจิตรา เหรัญญิกคุณนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม นายทะเบียนคุณอริยนัทธ์ รังษีเสริมสุข ประชาสัมพันธ์คุณน้อย ตรีวรกุล กรรมการคุณจุ่ง เจษฎากานต์ กรรมการคุณวรภร เจษฎานราธร กรรมการคุณอภิชาติ เจริญวรกิจกุล กรรมการหน่วยงานของกรมปศุสัตว์ในจังหวัดราชบุรี1. ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวางตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธารามจังหวัดราชบุรี 70120โทร. 0-3226-1090 , 0-1437-92802. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันตกตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธารามจังหวัดราชบุรี 70120โทร. 0-3226-1884 โทรสาร. 0-3226-1884 ต่อ 1143. ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพราชบุรี และ ศูนย์ผลิตนำเชื้อสุกรจังหวัดราชบุรีตำบลหนองโพ อำเภอโพธารามจังหวัดราชบุรี 70120โทร. 0-3238-9189 โทรสาร. 0-3238-9378-94. ด่านกักกันสัตว์ราชบุรีตำบลรางบัว อำเภอจอมบึงจังหวัดราชบุรี 70150 โทร. 0-3226-1089 การเลี้ยงหมูในประเทศไทยเป็นอย่างไรการเลี้ยงหมูของเกษตรกรไทย แต่เดิมเป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้านเป็นส่วนใหญ่ คือ ผู้เลี้ยงหมูประเภทนี้เลี้ยงไว้โดยให้กินเศษอาหารที่มีอยู่หรือที่เก็บรวบรวมได้ตามบ้าน ดังนั้น ผู้เลี้ยงประเภทนี้จึงเลี้ยงหมูเป็นจำนวนมากไม่ได้ จะเลี้ยงไว้เพียงบ้านละ 2-3 ตัวเท่านั้น ผู้เลี้ยงเป็นอาชีพจริง ๆ มีน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย ผู้เลี้ยงไว้เป็นจำนวนมาก ๆ ได้ มักทำอาชีพอื่น ๆ อยู่ด้วย เช่น เป็นเจ้าของโรงสี เป็นต้น ผู้เลี้ยงหมูแต่ก่อนมักเป็นชาวจีน รองลงมาก็เป็นผู้เลี้ยงชาวไทยเชื้อสายจีนวิธีการเลี้ยงหมูแต่เดิมมายังล้าสมัยอยู่มาก จะเห็นได้ว่าผู้เลี้ยงบางคนยังไม่มีคอกเลี้ยงหมูเลย หมูจึงถูกปล่อยให้กินอยู่ตามลานบ้าน ใต้ถุนเรือน หรือตามทุ่ง หรือผูกติดไว้กับโคนเสาใต้ถุนบ้าน เป็นต้น ส่วนที่ดีขึ้นมาหน่อยก็มีคอกเลี้ยง แต่พื้นคอกก็ยังเป็นพื้นดินอยู่นั่นเอง พื้นคอกที่ทำด้วยไม้และคอนกรีตมีน้อยมาก อาหารที่ใช้เลี้ยงหมูแต่เดิมนอกจากเศษอาหารตามบ้านแล้ว อาหารหลักที่ใช้ก็คือรำข้าว และหยวกกล้วย นำมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วตำให้ละเอียดอีกทีหนึ่ง นอกจากนี้อาจมีผักหญ้าที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ เช่น จอก ผักตบชวา ผักบุ้ง สาหร่าย และผักขม เป็นต้น นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมกับรำข้าวและปลายข้าวที่ต้มสุกแล้ว เติมน้ำลงในอาหารที่ผสมแล้วนี้ในปริมาณที่พอเหมาะแล้วจึงให้หมูกิน หมูที่เลี้ยงในสมัยก่อนเป็นหมูพันธุ์พื้นเมือง หมูเหล่านี้มีขนาดตัว เล็กและเจริญเติบโตช้า เนื่องจากไม่มีใครสนใจปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น หมูพันธุ์พื้นเมืองจึงถูกปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองโดยไม่มีการคัดเลือก นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงมักจะคัดหมูตัวที่โตเร็วออกขายเอาเงินไว้ก่อน จึงเหลือแต่หมูที่ลักษณะไม่ดีนำมาใช้ทำพันธุ์ต่อไปหมูแบ่งเป็นกี่ประเภท เป็นอย่างไรบ้างหมูที่เลี้ยงในปัจจุบันมีอยู่หลายพันธุ์ รูปร่างลักษณะของหมูเกิดจากการผสมพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ตามความต้องการของนักผสมพันธุ์และผู้บริโภค ตลอดจนอาหารที่ใช้เลี้ยงดู ถ้าจัดแบ่งหมูตามรูปร่างลักษณะและคุณภาพของเนื้อแล้ว จะแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ๑. หมูประเภทมัน หมูประเภทนี้มีลักษณะอ้วนเตี้ย ลำตัวหนาแต่สั้น สะโพกเล็ก มีมันมาก มีเนื้อแดงน้อย หมูประเภทมันมีขนาดเล็ก เจริญเติบโตช้าและกินอาหารเปลือง สมัยก่อนคนนิยมเลี้ยงหมูประเภทนี้กันมาก เพราะต้องใช้มันหมูในการประกอบอาหาร ปัจจุบันเรานิยมบริโภคน้ำมันพืชแทน ความนิยมในการใช้น้ำมันหมูจึงลดลง อย่างมาก ตัวอย่างพันธุ์หมูที่จัดไว้ในหมูประเภทมัน ได้แก่ หมูพันธุ์พื้นเมือง ทั้งที่เป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เช่น พันธุ์ราด พันธุ์พวง ฯลฯ และที่มีถิ่นดั้งเดิมจากประเทศจีน คือ พันธุ์ไหหลำ๒. หมูประเภทเนื้อ หมูประเภทนี้มีคุณสมบัติอยู่กึ่งกลางระหว่างหมูประเภทมันและเบคอน ดังนั้น หมูประเภทเนื้อลำตัวจึงยาวกว่าประเภทมัน แต่ไม่ยาวมากนัก มีส่วนไหล่และสะโพกใหญ่อวบ ลำตัวหนาและลึก หลังโค้งพองาม หมูประเภทนี้มีขึ้นโดยวิธีการผสมพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์ให้มีเนื้อแดงมากขึ้นแต่มันลดลง เจริญเติบโตเร็วและมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อก็ดีขึ้น ตัวอย่างหมูประเภทนี้คือ หมูพันธุ์ดูร็อก พันธุ์แฮมเชียร์ เป็นต้น๓. หมูประเภทเบคอน หมูประเภทนี้มีขนาดใหญ่ ผอม ลำตัวยาวกว่าประเภทอื่น ๆ แต่ค่อนข้างบาง กระดูกใหญ่ ขายาว สะโพกเล็ก เป็นหมูที่เป็นหนุ่มเป็นสาวช้า หมูประเภทเบคอนมีเนื้อสามชั้นเหมาะสำหรับทำหมูเค็มตามกรรมวิธีของชาวต่างประเทศ เรียกว่า เบคอน ได้แก่ หมูพันธุ์แลนด์เรซ และพันธุ์ลาร์จไวต์ เป็นต้นหมูพันธุ์พื้นเมืองแบ่งออกได้กี่พันธุ์ อะไรบ้างหมูพันธุ์พื้นเมืองปัจจุบันมีจำนวนค่อนข้างน้อยมาก จะพบในบางท้องถิ่นเท่านั้น ส่วนใหญ่มักจะได้รับการผสมพันธุ์จากหมูพันธุ์ต่างประเทศเนื่องจากไม่ได้รับการปรับปรุงหรือคัดเลือกให้เป็นหมูพันธุ์ที่ดี หมูพันธุ์พื้นเมืองจึงมีลักษณะและคุณสมบัติโดยทั่วไปเลวลง คือ มีขนาดเล็ก เติบโตช้า สามารถเปลี่ยนอาหารไป เป็นเนื้อได้น้อย คุณภาพค่อนข้างต่ำ คือ มีเนื้อแดงน้อย มันมาก ลำตัวสั้น หนังแอ่น สะโพกและไหล่เล็ก หมูพันธุ์พื้นเมืองแบ่งออกเป็นพันธุ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้๑. หมูพันธุ์ไหหลำ หมูพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศจีน พบในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ลำตัวมีสีขาวกับดำปนกัน สีดำมากในตอนหัว ไหล่ หลัง และบั้น ท้าย ส่วนตอนล่างของลำตัวมีสีขาวหมูพันธุ์ไหหลำมีหัวได้รูปงาม จมูกยาวและแอ่นเล็กน้อย คางย้อยและไหล่ใหญ่ ลำตัวยาวปานกลาง หลังแอ่น สะโพกเล็ก ขาและข้อเหนือกีบเท้าอ่อน หมูไหหลำเติบโตและสืบพันธุ์ดีกว่าหมูพันธุ์พื้นเมืองอื่น ๆ๒. หมูพันธุ์ควาย พบเลี้ยงในภาคเหนือของประเทศไทย สีของหมูพันธุ์นี้คล้ายสีของหมูพันธุ์ไหหลำ แต่ลำตัวมีสีดำเป็นส่วนใหญ่ จมูกของหมูพันธุ์ควายตรงกว่าและสั้นกว่า และมีรอยย่นมากกว่า ลำตัวเล็กกว่าหมูพันธุ์ไหหลำ ไหล่และสะโพกเล็ก ขาและข้อเหนือกีบเท้าอ่อน๓. หมูพันธุ์ราด พบเลี้ยงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หัวของหมูพันธุ์ราดมีรูปงาม ยาวและตรงลำตัวสั้นและแน่น กระดูกแข็งแรง แต่เจริญเติบโตช้า๔. หมูพันธุ์พวง เลี้ยงกันมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีสีดำ หมูพันธุ์พวงเป็นหมูที่มีผิวงหนังหยาบมากที่สุด ดังนั้น จึงขายได้ในราคาต่ำกว่าหมูพันธุ์อื่น หมูพันธุ์พวง ส่วนมากใช้ผสมกับหมูพันธุ์ราด เพื่อให้ได้รูปขนาดและการเจริญเติบโตดีขึ้น อย่างไรก็ตามการนำหมูพันธุ์ต่างประเทศมาผสมเพื่อปรับปรุงพันธุ์จะได้ผลดีกว่าหมูพันธุ์ต่างประเทศแบ่งออกได้กี่พันธุ์ อะไรบ้าง๑. หมูพันธุ์แลนด์เรซหมูพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเดนมาร์ก เป็นหมูประเภทเบคอนที่ดีที่สุด เจริญเติบโตและเนื้อมีคุณภาพดี มีสีขาวตลอดลำตัว แต่อาจมีจุดดำบนผิวหนังได้บ้าง ลำตัวและหลังค่อนข้างตรง ใบหูใหญ่และปรก จมูกตรง คางเรียบ ให้ลูกดกและเลี้ยงลูกเก่ง ในประเทศไทยมีเลี้ยงกันอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะ ภาคกลางของประเทศมีเลี้ยงกันมาก๒. หมูพันธุ์ลาร์จไวต์หมูพันธุ์นี้ในสหรัฐอเมริกาเรียกพันธุ์ยอร์กเชอร์ (Yorkshire) ถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษ เป็นหมูประเภทเบคอนที่ให้เนื้อมาก เติบโตเร็ว มีสีขาวตลอดลำตัว หัวโตปานกลาง หูตั้ง ตัวเมียให้ลูกดกและเลี้ยงลูกเก่ง๓. หมูพันธุ์ดูร็อกหมูพันธุ์ดูร็อกมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นหมูประเภทเนื้อขนาดใหญ่ รูปร่างหนาลึก ความยาวของลำตัวสั้นกว่าหมูพันธุ์แลนด์เรซ และพันธุ์ลาร์จไวต์ สะโพกใหญ่เด่นชัด มีสีตั้งแต่แดงเข้มไปจนอ่อน หัวมีขนาดปานกลาง หูย้อยไปข้างหน้า๔. หมูพันธุ์ลูกผสมเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ต่างประเทศด้วยกัน ส่วนใหญ่เจริญเติบโตเร็ว เป็นที่นิยมกันมากในการเลี้ยงเป็นหมูขุนโรคของหมูที่สำคัญ คือโรคอะไรแม้ว่าการเลี้ยงหมูจะเจริญไปมากก็ตาม แต่ปัจจุบันยังประสบปัญหาเรื่องโรคและพยาธิต่างๆ โดยเฉพาะโรคระบาดที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เช่น โรคอหิวาต์หมู โรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งยังไม่สามารถกำจัดให้หมดได้ จึงเป็นเหตุให้การเลี้ยงหมูในบ้านเรายังไม่เจริญก้าวหน้าถึงที่สุด ตลาดต่างประเทศยังไม่ยอมรับเนื้อหมูจากประเทศไทย ตลาดหมู จึงจำกัดอยู่ภายในประเทศเท่านั้น โรคระบาดร้ายแรงที่เป็นอันตรายมาก ได้แก่โรคอหิวาต์หมูโรคอหิวาต์หมูเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงมากและเป็นเฉพาะหมูเท่านั้น โรคนี้นำความเสียหายมาสู่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูเป็นอย่างมาก และเคยระบาดไปทั่วโลกรวมทั้งทวีปเอเชียสาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งคือ ทอร์เทอร์ซูอิส (Tortor suis) ติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัสหรือโดยทางอ้อมจากอาหาร น้ำที่มีเชื้อปะปน นก แมลง หนู และสุนัข รวมทั้งคนซึ่งเป็นพาหะอย่างดีจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งได้โดยง่าย สาเหตุอีกประการที่ทำให้โรคนี้ระบาดได้เร็วคือ การเลี้ยงหมูด้วยเศษอาหารที่เก็บรวบรวมจากที่ต่างๆ ซึ่งอาจมีเชื้อโรคปะปนติดมา หากอาหารที่นำมาเลี้ยงนั้นไม่ได้ต้มให้เชื้อตายเสียก่อนแล้ว หมูจะได้รับเชื้อทันทีอาการ หมูที่ติดโรคนี้เริ่มแรกจะมีอาการหงอยซึม เบื่ออาหาร มีไข้สูง มีอาการสั่น หลังโก่ง หูและคอตก ขนลุก ไม่ค่อยลืมตา เยื่อตาอักเสบนัยน์ตาแดงจัด มักมีขี้ตาสีขาวสีเหลืองแถวบริเวณหัวตาก่อน แล้วแผ่ไปเต็มลูกนัยน์ตา อาจทำให้ตาปิดข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ผิวหนังบริเวณเนื้ออ่อนๆ เช่น บริเวณท้อง โคนขา ใบหู มีลักษณะช้ำเป็นผื่นแดงปนม่วงเป็นเม็ดๆ เนื่องจากเลือดออกเป็นจุดๆ ใต้ผิวหนังเห็นได้ชัดกับหมูที่มีผิวหนังขาว หมูจะอ่อนเพลีย ชอบนอนซุกตามมุมคอกหมูที่เป็นโรคนี้จะมีอาการท้องผูกในตอนแรก ต่อมาจึงมีอาการอาเจียนเป็นน้ำสีเหลืองๆ เวลาเดินตัวสั่นเพราะไม่มีแรงทรงตัว มีอุจจาระร่วงและไข้ลดลง แต่มีอาการหอบเข้าแทรกจนกระทั่งตาย หมูที่เป็นโรคนี้ประมาณร้อยละ 90 มักตาย โรคอหิวาต์หมูเป็นได้กับหมูทุกระยะการเจริญเติบโตการป้องกันและรักษา ฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ให้กับหมูทุกๆ ตัว ปีละครั้ง สำหรับหมูที่เพิ่งแสดงอาการเป็นโรคนี้อาจฉีดเซรุ่มรักษาให้หายได้โรคปากและเท้าเปื่อยโรคปากและเท้าเปื่อยเป็นโรคระบาดที่ติดต่อได้อย่างรวดเร็วของสัตว์ที่มีกีบคู่ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ และหมู โรคนี้ไม่ทำให้สัตว์ถึงตายได้ แต่จะซูบผอมลงเพราะกินอาหารไม่ได้ สัตว์ที่กำลังให้นมจะหยุดให้นมชั่วระยะหนึ่งและจำนวนน้ำนมจะลดลงสาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มีแบบต่างๆ กัน ในประเทศไทยเป็นแบบเอ โอ และเอเชีย 1 โรคนี้ติดต่อได้ง่ายทางอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรคนี้ หรือติดต่อทางสัมผัสเมื่อหมูคลุกคลีกับสัตว์ที่เป็นโรค นอกจากนี้แมลงวันก็เป็นพาหะของโรคนี้ด้วยอาการ อาการหมูที่ป่วยด้วยโรคนี้จะเริ่มเบื่ออาหาร มีไข้สูง จมูกแห้ง เซื่องซึม ภายในปากอักเสบแดง ต่อมามีเม็ดตุ่มแดงที่เยื่อภายในปาก บนลิ้น ริมฝีปาก เหงือก เพดาน ตามบริเวณซอกกีบ ตุ่มเหล่านี้จะเกิดพุพองและกลัดหนองแล้วแตกเฟะ ทำให้หมูกินอาหารและน้ำไม่สะดวก มีน้ำลายไหลอยู่เสมอ เท้าเจ็บ เดินกะเผลก บางตัวต้องเดินด้วยเข่า หรือเดินไม่ได้ บางตัวที่เป็นมากกีบจะเน่าและหลุดออก ทำให้หมูหมดกำลังและตายในที่สุดการป้องกันและรักษา ควรฉีดวัคซีนให้ 6 เดือนต่อครั้ง และประการสำคัญอย่าเลี้ยงสัตว์ประเภทกีบคู่ใกล้กันเพราะสามารถติดต่อกันได้ และอย่าให้คนเลี้ยงหมูจากที่อื่นเดินมาในบริเวณเลี้ยงหมูโดยไม่ได้จุ่มเท้าในน้ำยาฆ่าเชื้อเสียก่อนการเลี้ยงแม่หมูระหว่างการให้นมควรปฏิบัติอย่างไรการเลี้ยงดูแม่หมูระหว่างการให้นมควรปฏิบัติดังนี้๑. ควรให้อาหารเดิมแก่แม่หมู (อาหารที่ให้แม่หมูตอนใกล้คลอด) ภายหลังคลอดต่อไปอีกประมาณ 3 - 5 วัน จึงค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารสูตรใหม่๒. อาหารสูตรใหม่ที่ให้แก่แม่หมูระหว่างการให้น้ำนม ควรมีโปรตีนและพลังงานไม่น้อยกว่าในอาหารสำหรับแม่หมูระหว่างการอุ้มท้อง ทั้งนี้เพื่อช่วยในการผลิตน้ำนม๓. การให้อาหารควรเริ่มให้แต่น้อย วันถัดไปค่อยเพิ่มจำนวนอาหารที่ให้กินมากขึ้นไปเรื่อย ๆ เท่าที่แม่หมูจะสามารถกินได้ เช่น แม่หมูมีลูก 10 ตัว อาหารที่ให้แม่หมูกินเต็มที่ประมาณ 5 กิโลกรัม๔. การเพิ่มอาหารให้แม่หมูกินเร็วเกินไป อาจทำให้ลูกหมู เกิดขี้ขาวได้ ถ้าเกิดกรณีเช่นนี้ผู้เลี้ยงควรลดจำนวนอาหารที่ให้หมูลงการเลี้ยงและดูแลลูกหมูหลังคลอดไปจนถึงหย่านมมีวิธีอย่างไรการเลี้ยงและการดูแลลูกหมู ตั้งแต่หลังคลอดไปจนถึงหย่านม นับได้ว่าเป็นช่วงที่มีความยุ่งยากมากกว่าช่วงอื่น ๆ เป็นช่วงที่มีการสูญเสียลูกหมูมากที่สุด โดยเฉลี่ยประมาณ 2 ตัวต่อครอกซึ่งอาจเกิด เนื่องจากถูกแม่ทับตาย ท้องร่วงอย่างแรง อดอาหาร โลหิตจางและเสียเลือดมากทางสายสะดือเมื่อคลอด อย่างไรก็ตามการสูญเสียลูกหมูในช่วงนี้ ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการดูแลไม่ดีมากกว่าสาเหตุอื่น ๆ ดังนั้น เพื่อลดการสูญเสียลูกหมูในช่วงนี้ ผู้เลี้ยงควรเตรียมการดูแลลูกหมูดังนี้๑. การให้ความอบอุ่น หมูที่มีอายุต่ำกว่า 3 วัน กลไกที่คาบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายยังไม่ทำงาน จึงไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความผันแปรของอุณหภูมิภายนอกได้ ลูกหมูแรกเกิดที่ถูกความหนาวเย็นมาก ๆ หรือเป็นเวลานาน ๆ อุณหภูมิของร่างกายจะลดลงจะเป็นผลให้ลูกหมูตัวนั้นตายได้๒. การป้องกันลมโกรก ไม่ควรปล่อยให้ลูกหมูถูกลมโกรก เช่น ให้ลูกหมูอยู่ในคอกที่โปร่งมากหรือมีพื้นเป็นไม้ระแนง เพราะจะทำให้ลูกหมูเจ็บป่วยได้ง่าย บริเวณสำหรับลูกหมูแรกคลอดหลับนอนควรมีที่กำบังลมไว้ประมาณ 3-4 วัน จะช่วยให้ลูกหมูไม่ถูกลมโกรกมากนัก อย่างไรก็ตาม คอกลูกหมูก็ไม่ควรปิดทึบเพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เวลาคอกเปียกชื้นจะแห้งยากทำให้เกิดเชื้อโรค ลูกหมูจะเจ็บป่วยได้ง่ายเช่นกัน๓. การรักษาความสะอาดคอก คอกที่ใช้เลี้ยงลูกหมูควรทำความสะอาดอยู่เป็นประจำ พื้นคอกตลอดจนบริเวณที่ลูกหมูนอนควรจะแห้งและสะอาดอยู่เสมอ ถ้าจำเป็นที่จะต้องล้างทำความสะอาด เนื่องจากคอกสกปรก ควรขังลูกหมูเอาไว้ก่อน อย่าปล่อยออกมาให้ตัวเปียกน้ำ ลูกหมูอาจจะหนาวสั่นและเจ็บป่วยได้ เมื่อเห็นว่าคอกแห้งพอสมควรดีแล้วจึงปล่อยลูกหมูตามเดิม๔. การตัดสายสะดือ ก่อนอื่นควรมัดสายสะดือเพื่อป้องกันเลือดออกหลังตัด ควรตัดให้เหลือสายสะดือยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร เมื่อลูกหมูยืนขึ้นสายสะดือจะได้ไม่ติดพื้นคอก จากนั้นเช็ดแผลที่ตัดแล้วด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน สายสะดือเป็นส่วนสำคัญที่เชื้อโรคจะเข้าสู่ตัวลูกหมูได้ การเจ็บป่วย เช่น ลูกหมูขาเจ็บหรือตายอาจจะมาจากการละเลยการปฏิบัติดังกล่าว๕. การตัดฟันและการตัดหาง ควรตัดภายหลังที่ลูกหมูคลอดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง การตัดฟันและหางนี้ควรทำพร้อมกัน ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการจับต้องลูกหมูหลาย ๆ ครั้ง๖. การป้องกันโรคโลหิตจาง โรคโลหิตจางในลูกหมูมักเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ทั้งนี้เพราะลูกหมูมีความต้องการธาตุเหล็กมากเกินกว่าที่ได้รับจากน้ำนมแม่ เนื่องจากลูกหมูมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วและธาตุเหล็กที่เก็บสำรองในตัวลูกหมูที่เกิด ใหม่มีอยู่จำนวนน้อย เพื่อป้องกันโรคนี้ผู้เลี้ยงควรฉีดธาตุเหล็กให้ลูกหมูประมาณ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อลูกหมูอายุได้ 3 วัน ครั้งถัดไปเมื่อลูกหมูมีอายุได้ 2-3 สัปดาห์๗. การตอนลูกหมูตัวผู้ ลูกหมูตัวผู้ที่ไม่เก็บไว้ทำพันธุ์ จะตอนเมื่ออายุเท่าใดก็ได้ แต่ที่เหมาะคือเมื่ออายุได้ 2 หรือ 3 สัปดาห์ ในช่วงนี้อันตรายจากการตอนมีน้อยกว่าช่วงที่ลูกหมูโตแล้ว เพราะจับลูกหมูได้ง่ายกว่า และแผลก็จะหายเร็วกว่าด้วย๘. การหัดให้กินอาหารแห้ง ก่อนลูกหมูหย่านมอย่างสมบูรณ์ เมื่อลูกหมูมีอายุได้ 1 หรือ 2 สัปดาห์ ควรหัดให้กินอาหารบ้างลูกหมูที่เคยหัดให้กินอาหารตั้งแต่เล็ก โดยทั่วไปเมื่อหย่านมจะเรียนรู้การกินอาหารได้เร็วกว่าพวกที่ไม่เคยหัดเลย

สถิติการเลี้ยงสุกร










สมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 70 หมู่ 6 ตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โทร (032) 281299-300ทีมงาน เวทโปรดักส์ ได้รับเกียรติจากท่าน ส.ส.วิวัฒน์ นิติกาญจนา นายกสมาคมฯ ให้สัมภาษณ์เป็นกรณีพิเศษเกี่ยวกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี เพื่อนำบทสัมภาษณ์ลงหนังสือเวทไดเจสต์ ซึ่งท่านได้เล่าถึงความแนวคิดที่ตั้ง สมาคมฯ ขึ้นมาว่า..ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2547 กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรในเขตห้วยไผ่, อ.เมืองและปากท่อ ประมาณ 29 ฟาร์มได้รวมตัวกันก่อตั้งเป็น “ชมรมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี” โดยมี ส.ส.วิวัฒน์ นิติกาญจนา เป็นประธานชมรมฯ, มีคุณสมชาย นิติกาญจนา เป็นรองประธาน. คุณ วีระชัย เตชะสัตยา เป็นที่ปรึกษาชมรมฯ, คุณสุวดี ธีระสัตยกุล เป็นเลขานุการ และมีทีมงาน เวทโปรดักส์ กรุ๊ป ช่วยประสานงาน วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความสามัคคีความเข้าใจอันดีในกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นชมรมฯ มีการพบปะกันเพื่อกำหนดทิศทางและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันระหว่างสมาชิก นอกจากนั้นทางชมรมฯ ยังได้จัดตั้ง “กองทุนพยุงราคาสุกร” เพื่อใช้ในกิจกรรมเสริมสร้างเสถียรภาพราคาสุกรรวมทั้งเป็นงบดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์สร้างภาพพจน์ที่ดีต่ออุตสาหกรรมการผลิตสุกร ซึ่งทางสมาคมจะเก็บตัวละ 10 บาท จากจำนวนสุกรขุน โดยประมาณจากที่แต่ละฟาร์มจำหน่ายต่อเดือน จะเก็บทุกวันโกนแรกของเดือนโดยมีเป้าหมายที่จำนวน 200 ล้านบาท ท่าน ส.ส. ได้เล่าต่ออีกว่าต่อมาชมรมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี ได้เปลี่ยนสถานะเป็น “สมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี” เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2548 โดยเป็นสมาคมที่ 3 ในวงการสุกรที่ขึ้นทะเบียนสมาคมการค้ากับกระทรวงพาณิชย์ ทีมงานได้สอบถามความแตกต่างของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรีกับสมาคมอื่นๆ ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร …ได้รับคำตอบจากท่านคือ “เราจะเห็นได้ว่าปริมาณการเลี้ยงสุกรในจังหวัดราชบุรีมีจำนวนมากที่สุดในประเทศ ซึ่งก็มีผลกระทบกับราคาขายของสุกรในเขตอื่นๆ นับตั้งแต่มีการก่อตั้งชมรมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรีจนมาเป็น สมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี นับว่าช่วยทำให้ราคาขายสุกรในเขตราชบุรีมีเสถียรภาพมากขึ้นเนื่องจากผู้เลี้ยงสามารถสื่อสารกันได้ทันทีและสามารถตรวจเช็คข้อมูลกันได้โดยตรง นอกจากนี้ “กองทุนพยุงราคาสุกร” ที่จัดตั้งขึ้นก็นับว่าเป็นจุดแข็งที่สำคัญ เพราะเป็นกองทุนแรกที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพของราคาสุกรที่เหมาะสม สำหรับแนวทางการบริหารเงิน “กองทุนพยุงราคาสุกร” ทางสมาคมฯ มีมติว่า เงินกองทุนนี้จะถูกนำมาใช้ตามวัตถุประสงค์โดยช่วงที่ราคาขายสุกรต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ทางคณะกรรมการเงินกองทุนอาจพิจารณานำเงินนี้เข้าไปซื้อสุกรขุนที่ราคาต่ำมากๆ มาชำแหละเข้าห้องเย็นหรือนำมาซื้อลูกสุกรมาทำลายก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมอันจะมีผลต่อภาพรวมของราคาสุกร นอกจากนี้อาจจะนำมาใช้กิจกรรมต่างๆที่ช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีของผู้เลี้ยงสุกรในสายตาผู้บริโภค เป้าหมายของเงินกองทุนนี้คือ 200 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ทางสมาคมฯ สามารถรวบรวมได้เกือบ 10 ล้านบาทแล้วผลงานของสมาคมฯ ที่ผ่านมา ช่วงที่ยังเป็นชมรมฯ เราก็พยายามสร้างเสถียรภาพราคาขายสุกรขุนในเขตและพยายามสร้างความเข้าใจอันดีกับผู้เลี้ยงในจังหวัดใกล้เคียงและเขตอื่นๆ เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทางสมาคมฯได้เป็นตัวแทนยื่นหนังสือชี้แจงความเดือดร้อนจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวของผู้เลี้ยงสุกรในจังหวัดราชบุรี กับ ฯพณฯ สรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ซึ่งท่านก็ได้รับไปพิจารณาหาทางแก้ไขแล้ว มุมมองสำหรับอนาคตของสมาคมฯ นั้น ตามวัตถุประสงค์ของสมาคมที่จะสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้เลี้ยงสุกร พ่อค้า และผู้บริโภค รวมทั้งสมาคมฯพร้อมที่จะผลักดันให้มีการผลิตสุกรที่มีคุณภาพ เนื้อสุกรที่สะอาด ถูกสุขอนามัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ซึ่งก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายทั้งผู้เลี้ยงสุกร พ่อค้ารวมไปถึงหน่วยงานของภาครัฐให้การสนับสนุนด้วยนอกจากนี้ทางสมาคมฯ พร้อมที่จะสนับสนุนการจัดตั้งคณะกรรมการพิกบอร์ดซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในระยะยาวรายชื่อคณะกรรมการสมาคม ฯส.ส.วิวัฒน์ นิติกาญจนา นายกสมาคมคุณสมชาย นิติกาญจนา อุปนายกคนที่ 1คุณอำนวย กุลธนปรีดา อุปนายกคนที่ 2คุณสุวดี ธีระสัตยกุล เลขานุการคุณวัชระ ชุณห์วิจิตรา เหรัญญิกคุณนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม นายทะเบียนคุณอริยนัทธ์ รังษีเสริมสุข ประชาสัมพันธ์คุณน้อย ตรีวรกุล กรรมการคุณจุ่ง เจษฎากานต์ กรรมการคุณวรภร เจษฎานราธร กรรมการคุณอภิชาติ เจริญวรกิจกุล กรรมการหน่วยงานของกรมปศุสัตว์ในจังหวัดราชบุรี1. ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวางตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธารามจังหวัดราชบุรี 70120โทร. 0-3226-1090 , 0-1437-92802. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันตกตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธารามจังหวัดราชบุรี 70120โทร. 0-3226-1884 โทรสาร. 0-3226-1884 ต่อ 1143. ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพราชบุรี และ ศูนย์ผลิตนำเชื้อสุกรจังหวัดราชบุรีตำบลหนองโพ อำเภอโพธารามจังหวัดราชบุรี 70120โทร. 0-3238-9189 โทรสาร. 0-3238-9378-94. ด่านกักกันสัตว์ราชบุรีตำบลรางบัว อำเภอจอมบึงจังหวัดราชบุรี 70150 โทร. 0-3226-1089






การเลี้ยงหมูในประเทศไทยเป็นอย่างไร

การเลี้ยงหมูของเกษตรกรไทย แต่เดิมเป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้านเป็นส่วนใหญ่ คือ ผู้เลี้ยงหมูประเภทนี้เลี้ยงไว้โดยให้กินเศษอาหารที่มีอยู่หรือที่เก็บรวบรวมได้ตามบ้าน ดังนั้น ผู้เลี้ยงประเภทนี้จึงเลี้ยงหมูเป็นจำนวนมากไม่ได้ จะเลี้ยงไว้เพียงบ้านละ 2-3 ตัวเท่านั้น ผู้เลี้ยงเป็นอาชีพจริง ๆ มีน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย ผู้เลี้ยงไว้เป็นจำนวนมาก ๆ ได้ มักทำอาชีพอื่น ๆ อยู่ด้วย เช่น เป็นเจ้าของโรงสี เป็นต้น ผู้เลี้ยงหมูแต่ก่อนมักเป็นชาวจีน รองลงมาก็เป็นผู้เลี้ยงชาวไทยเชื้อสายจีนวิธีการเลี้ยงหมูแต่เดิมมายังล้าสมัยอยู่มาก จะเห็นได้ว่าผู้เลี้ยงบางคนยังไม่มีคอกเลี้ยงหมูเลย หมูจึงถูกปล่อยให้กินอยู่ตามลานบ้าน ใต้ถุนเรือน หรือตามทุ่ง หรือผูกติดไว้กับโคนเสาใต้ถุนบ้าน เป็นต้น ส่วนที่ดีขึ้นมาหน่อยก็มีคอกเลี้ยง แต่พื้นคอกก็ยังเป็นพื้นดินอยู่นั่นเอง พื้นคอกที่ทำด้วยไม้และคอนกรีตมีน้อยมาก อาหารที่ใช้เลี้ยงหมูแต่เดิมนอกจากเศษอาหารตามบ้านแล้ว อาหารหลักที่ใช้ก็คือรำข้าว และหยวกกล้วย นำมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วตำให้ละเอียดอีกทีหนึ่ง นอกจากนี้อาจมีผักหญ้าที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ เช่น จอก ผักตบชวา ผักบุ้ง สาหร่าย และผักขม เป็นต้น นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมกับรำข้าวและปลายข้าวที่ต้มสุกแล้ว เติมน้ำลงในอาหารที่ผสมแล้วนี้ในปริมาณที่พอเหมาะแล้วจึงให้หมูกิน หมูที่เลี้ยงในสมัยก่อนเป็นหมูพันธุ์พื้นเมือง หมูเหล่านี้มีขนาดตัว เล็กและเจริญเติบโตช้า เนื่องจากไม่มีใครสนใจปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น หมูพันธุ์พื้นเมืองจึงถูกปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองโดยไม่มีการคัดเลือก นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงมักจะคัดหมูตัวที่โตเร็วออกขายเอาเงินไว้ก่อน จึงเหลือแต่หมูที่ลักษณะไม่ดีนำมาใช้ทำพันธุ์ต่อไปหมูแบ่งเป็นกี่ประเภท เป็นอย่างไรบ้างหมูที่เลี้ยงในปัจจุบันมีอยู่หลายพันธุ์ รูปร่างลักษณะของหมูเกิดจากการผสมพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ตามความต้องการของนักผสมพันธุ์และผู้บริโภค ตลอดจนอาหารที่ใช้เลี้ยงดู ถ้าจัดแบ่งหมูตามรูปร่างลักษณะและคุณภาพของเนื้อแล้ว จะแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ๑. หมูประเภทมัน หมูประเภทนี้มีลักษณะอ้วนเตี้ย ลำตัวหนาแต่สั้น สะโพกเล็ก มีมันมาก มีเนื้อแดงน้อย หมูประเภทมันมีขนาดเล็ก เจริญเติบโตช้าและกินอาหารเปลือง สมัยก่อนคนนิยมเลี้ยงหมูประเภทนี้กันมาก เพราะต้องใช้มันหมูในการประกอบอาหาร ปัจจุบันเรานิยมบริโภคน้ำมันพืชแทน ความนิยมในการใช้น้ำมันหมูจึงลดลง อย่างมาก ตัวอย่างพันธุ์หมูที่จัดไว้ในหมูประเภทมัน ได้แก่ หมูพันธุ์พื้นเมือง ทั้งที่เป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เช่น พันธุ์ราด พันธุ์พวง ฯลฯ และที่มีถิ่นดั้งเดิมจากประเทศจีน คือ พันธุ์ไหหลำ๒. หมูประเภทเนื้อ หมูประเภทนี้มีคุณสมบัติอยู่กึ่งกลางระหว่างหมูประเภทมันและเบคอน ดังนั้น หมูประเภทเนื้อลำตัวจึงยาวกว่าประเภทมัน แต่ไม่ยาวมากนัก มีส่วนไหล่และสะโพกใหญ่อวบ ลำตัวหนาและลึก หลังโค้งพองาม หมูประเภทนี้มีขึ้นโดยวิธีการผสมพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์ให้มีเนื้อแดงมากขึ้นแต่มันลดลง เจริญเติบโตเร็วและมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อก็ดีขึ้น ตัวอย่างหมูประเภทนี้คือ หมูพันธุ์ดูร็อก พันธุ์แฮมเชียร์ เป็นต้น๓. หมูประเภทเบคอน หมูประเภทนี้มีขนาดใหญ่ ผอม ลำตัวยาวกว่าประเภทอื่น ๆ แต่ค่อนข้างบาง กระดูกใหญ่ ขายาว สะโพกเล็ก เป็นหมูที่เป็นหนุ่มเป็นสาวช้า หมูประเภทเบคอนมีเนื้อสามชั้นเหมาะสำหรับทำหมูเค็มตามกรรมวิธีของชาวต่างประเทศ เรียกว่า เบคอน ได้แก่ หมูพันธุ์แลนด์เรซ และพันธุ์ลาร์จไวต์ เป็นต้นหมูพันธุ์พื้นเมืองแบ่งออกได้กี่พันธุ์ อะไรบ้างหมูพันธุ์พื้นเมืองปัจจุบันมีจำนวนค่อนข้างน้อยมาก จะพบในบางท้องถิ่นเท่านั้น ส่วนใหญ่มักจะได้รับการผสมพันธุ์จากหมูพันธุ์ต่างประเทศเนื่องจากไม่ได้รับการปรับปรุงหรือคัดเลือกให้เป็นหมูพันธุ์ที่ดี หมูพันธุ์พื้นเมืองจึงมีลักษณะและคุณสมบัติโดยทั่วไปเลวลง คือ มีขนาดเล็ก เติบโตช้า สามารถเปลี่ยนอาหารไป เป็นเนื้อได้น้อย คุณภาพค่อนข้างต่ำ คือ มีเนื้อแดงน้อย มันมาก ลำตัวสั้น หนังแอ่น สะโพกและไหล่เล็ก หมูพันธุ์พื้นเมืองแบ่งออกเป็นพันธุ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้๑. หมูพันธุ์ไหหลำ หมูพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศจีน พบในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ลำตัวมีสีขาวกับดำปนกัน สีดำมากในตอนหัว ไหล่ หลัง และบั้น ท้าย ส่วนตอนล่างของลำตัวมีสีขาวหมูพันธุ์ไหหลำมีหัวได้รูปงาม จมูกยาวและแอ่นเล็กน้อย คางย้อยและไหล่ใหญ่ ลำตัวยาวปานกลาง หลังแอ่น สะโพกเล็ก ขาและข้อเหนือกีบเท้าอ่อน หมูไหหลำเติบโตและสืบพันธุ์ดีกว่าหมูพันธุ์พื้นเมืองอื่น ๆ๒. หมูพันธุ์ควาย พบเลี้ยงในภาคเหนือของประเทศไทย สีของหมูพันธุ์นี้คล้ายสีของหมูพันธุ์ไหหลำ แต่ลำตัวมีสีดำเป็นส่วนใหญ่ จมูกของหมูพันธุ์ควายตรงกว่าและสั้นกว่า และมีรอยย่นมากกว่า ลำตัวเล็กกว่าหมูพันธุ์ไหหลำ ไหล่และสะโพกเล็ก ขาและข้อเหนือกีบเท้าอ่อน๓. หมูพันธุ์ราด พบเลี้ยงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หัวของหมูพันธุ์ราดมีรูปงาม ยาวและตรงลำตัวสั้นและแน่น กระดูกแข็งแรง แต่เจริญเติบโตช้า๔. หมูพันธุ์พวง เลี้ยงกันมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีสีดำ หมูพันธุ์พวงเป็นหมูที่มีผิวงหนังหยาบมากที่สุด ดังนั้น จึงขายได้ในราคาต่ำกว่าหมูพันธุ์อื่น หมูพันธุ์พวง ส่วนมากใช้ผสมกับหมูพันธุ์ราด เพื่อให้ได้รูปขนาดและการเจริญเติบโตดีขึ้น อย่างไรก็ตามการนำหมูพันธุ์ต่างประเทศมาผสมเพื่อปรับปรุงพันธุ์จะได้ผลดีกว่าหมูพันธุ์ต่างประเทศแบ่งออกได้กี่พันธุ์ อะไรบ้าง๑. หมูพันธุ์แลนด์เรซหมูพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเดนมาร์ก เป็นหมูประเภทเบคอนที่ดีที่สุด เจริญเติบโตและเนื้อมีคุณภาพดี มีสีขาวตลอดลำตัว แต่อาจมีจุดดำบนผิวหนังได้บ้าง ลำตัวและหลังค่อนข้างตรง ใบหูใหญ่และปรก จมูกตรง คางเรียบ ให้ลูกดกและเลี้ยงลูกเก่ง ในประเทศไทยมีเลี้ยงกันอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะ ภาคกลางของประเทศมีเลี้ยงกันมาก๒. หมูพันธุ์ลาร์จไวต์หมูพันธุ์นี้ในสหรัฐอเมริกาเรียกพันธุ์ยอร์กเชอร์ (Yorkshire) ถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษ เป็นหมูประเภทเบคอนที่ให้เนื้อมาก เติบโตเร็ว มีสีขาวตลอดลำตัว หัวโตปานกลาง หูตั้ง ตัวเมียให้ลูกดกและเลี้ยงลูกเก่ง๓. หมูพันธุ์ดูร็อกหมูพันธุ์ดูร็อกมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นหมูประเภทเนื้อขนาดใหญ่ รูปร่างหนาลึก ความยาวของลำตัวสั้นกว่าหมูพันธุ์แลนด์เรซ และพันธุ์ลาร์จไวต์ สะโพกใหญ่เด่นชัด มีสีตั้งแต่แดงเข้มไปจนอ่อน หัวมีขนาดปานกลาง หูย้อยไปข้างหน้า๔. หมูพันธุ์ลูกผสมเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ต่างประเทศด้วยกัน ส่วนใหญ่เจริญเติบโตเร็ว เป็นที่นิยมกันมากในการเลี้ยงเป็นหมูขุนโรคของหมูที่สำคัญ คือโรคอะไรแม้ว่าการเลี้ยงหมูจะเจริญไปมากก็ตาม แต่ปัจจุบันยังประสบปัญหาเรื่องโรคและพยาธิต่างๆ โดยเฉพาะโรคระบาดที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เช่น โรคอหิวาต์หมู โรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งยังไม่สามารถกำจัดให้หมดได้ จึงเป็นเหตุให้การเลี้ยงหมูในบ้านเรายังไม่เจริญก้าวหน้าถึงที่สุด ตลาดต่างประเทศยังไม่ยอมรับเนื้อหมูจากประเทศไทย ตลาดหมู จึงจำกัดอยู่ภายในประเทศเท่านั้น โรคระบาดร้ายแรงที่เป็นอันตรายมาก ได้แก่โรคอหิวาต์หมูโรคอหิวาต์หมูเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงมากและเป็นเฉพาะหมูเท่านั้น โรคนี้นำความเสียหายมาสู่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูเป็นอย่างมาก และเคยระบาดไปทั่วโลกรวมทั้งทวีปเอเชียสาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งคือ ทอร์เทอร์ซูอิส (Tortor suis) ติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัสหรือโดยทางอ้อมจากอาหาร น้ำที่มีเชื้อปะปน นก แมลง หนู และสุนัข รวมทั้งคนซึ่งเป็นพาหะอย่างดีจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งได้โดยง่าย สาเหตุอีกประการที่ทำให้โรคนี้ระบาดได้เร็วคือ การเลี้ยงหมูด้วยเศษอาหารที่เก็บรวบรวมจากที่ต่างๆ ซึ่งอาจมีเชื้อโรคปะปนติดมา หากอาหารที่นำมาเลี้ยงนั้นไม่ได้ต้มให้เชื้อตายเสียก่อนแล้ว หมูจะได้รับเชื้อทันทีอาการ หมูที่ติดโรคนี้เริ่มแรกจะมีอาการหงอยซึม เบื่ออาหาร มีไข้สูง มีอาการสั่น หลังโก่ง หูและคอตก ขนลุก ไม่ค่อยลืมตา เยื่อตาอักเสบนัยน์ตาแดงจัด มักมีขี้ตาสีขาวสีเหลืองแถวบริเวณหัวตาก่อน แล้วแผ่ไปเต็มลูกนัยน์ตา อาจทำให้ตาปิดข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ผิวหนังบริเวณเนื้ออ่อนๆ เช่น บริเวณท้อง โคนขา ใบหู มีลักษณะช้ำเป็นผื่นแดงปนม่วงเป็นเม็ดๆ เนื่องจากเลือดออกเป็นจุดๆ ใต้ผิวหนังเห็นได้ชัดกับหมูที่มีผิวหนังขาว หมูจะอ่อนเพลีย ชอบนอนซุกตามมุมคอกหมูที่เป็นโรคนี้จะมีอาการท้องผูกในตอนแรก ต่อมาจึงมีอาการอาเจียนเป็นน้ำสีเหลืองๆ เวลาเดินตัวสั่นเพราะไม่มีแรงทรงตัว มีอุจจาระร่วงและไข้ลดลง แต่มีอาการหอบเข้าแทรกจนกระทั่งตาย หมูที่เป็นโรคนี้ประมาณร้อยละ 90 มักตาย โรคอหิวาต์หมูเป็นได้กับหมูทุกระยะการเจริญเติบโตการป้องกันและรักษา ฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ให้กับหมูทุกๆ ตัว ปีละครั้ง สำหรับหมูที่เพิ่งแสดงอาการเป็นโรคนี้อาจฉีดเซรุ่มรักษาให้หายได้โรคปากและเท้าเปื่อยโรคปากและเท้าเปื่อยเป็นโรคระบาดที่ติดต่อได้อย่างรวดเร็วของสัตว์ที่มีกีบคู่ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ และหมู โรคนี้ไม่ทำให้สัตว์ถึงตายได้ แต่จะซูบผอมลงเพราะกินอาหารไม่ได้ สัตว์ที่กำลังให้นมจะหยุดให้นมชั่วระยะหนึ่งและจำนวนน้ำนมจะลดลงสาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มีแบบต่างๆ กัน ในประเทศไทยเป็นแบบเอ โอ และเอเชีย 1 โรคนี้ติดต่อได้ง่ายทางอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรคนี้ หรือติดต่อทางสัมผัสเมื่อหมูคลุกคลีกับสัตว์ที่เป็นโรค นอกจากนี้แมลงวันก็เป็นพาหะของโรคนี้ด้วยอาการ อาการหมูที่ป่วยด้วยโรคนี้จะเริ่มเบื่ออาหาร มีไข้สูง จมูกแห้ง เซื่องซึม ภายในปากอักเสบแดง ต่อมามีเม็ดตุ่มแดงที่เยื่อภายในปาก บนลิ้น ริมฝีปาก เหงือก เพดาน ตามบริเวณซอกกีบ ตุ่มเหล่านี้จะเกิดพุพองและกลัดหนองแล้วแตกเฟะ ทำให้หมูกินอาหารและน้ำไม่สะดวก มีน้ำลายไหลอยู่เสมอ เท้าเจ็บ เดินกะเผลก บางตัวต้องเดินด้วยเข่า หรือเดินไม่ได้ บางตัวที่เป็นมากกีบจะเน่าและหลุดออก ทำให้หมูหมดกำลังและตายในที่สุดการป้องกันและรักษา ควรฉีดวัคซีนให้ 6 เดือนต่อครั้ง และประการสำคัญอย่าเลี้ยงสัตว์ประเภทกีบคู่ใกล้กันเพราะสามารถติดต่อกันได้ และอย่าให้คนเลี้ยงหมูจากที่อื่นเดินมาในบริเวณเลี้ยงหมูโดยไม่ได้จุ่มเท้าในน้ำยาฆ่าเชื้อเสียก่อนการเลี้ยงแม่หมูระหว่างการให้นมควรปฏิบัติอย่างไรการเลี้ยงดูแม่หมูระหว่างการให้นมควรปฏิบัติดังนี้๑. ควรให้อาหารเดิมแก่แม่หมู (อาหารที่ให้แม่หมูตอนใกล้คลอด) ภายหลังคลอดต่อไปอีกประมาณ 3 - 5 วัน จึงค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารสูตรใหม่๒. อาหารสูตรใหม่ที่ให้แก่แม่หมูระหว่างการให้น้ำนม ควรมีโปรตีนและพลังงานไม่น้อยกว่าในอาหารสำหรับแม่หมูระหว่างการอุ้มท้อง ทั้งนี้เพื่อช่วยในการผลิตน้ำนม๓. การให้อาหารควรเริ่มให้แต่น้อย วันถัดไปค่อยเพิ่มจำนวนอาหารที่ให้กินมากขึ้นไปเรื่อย ๆ เท่าที่แม่หมูจะสามารถกินได้ เช่น แม่หมูมีลูก 10 ตัว อาหารที่ให้แม่หมูกินเต็มที่ประมาณ 5 กิโลกรัม๔. การเพิ่มอาหารให้แม่หมูกินเร็วเกินไป อาจทำให้ลูกหมู เกิดขี้ขาวได้ ถ้าเกิดกรณีเช่นนี้ผู้เลี้ยงควรลดจำนวนอาหารที่ให้หมูลงการเลี้ยงและดูแลลูกหมูหลังคลอดไปจนถึงหย่านมมีวิธีอย่างไรการเลี้ยงและการดูแลลูกหมู ตั้งแต่หลังคลอดไปจนถึงหย่านม นับได้ว่าเป็นช่วงที่มีความยุ่งยากมากกว่าช่วงอื่น ๆ เป็นช่วงที่มีการสูญเสียลูกหมูมากที่สุด โดยเฉลี่ยประมาณ 2 ตัวต่อครอกซึ่งอาจเกิด เนื่องจากถูกแม่ทับตาย ท้องร่วงอย่างแรง อดอาหาร โลหิตจางและเสียเลือดมากทางสายสะดือเมื่อคลอด อย่างไรก็ตามการสูญเสียลูกหมูในช่วงนี้ ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการดูแลไม่ดีมากกว่าสาเหตุอื่น ๆ ดังนั้น เพื่อลดการสูญเสียลูกหมูในช่วงนี้ ผู้เลี้ยงควรเตรียมการดูแลลูกหมูดังนี้๑. การให้ความอบอุ่น หมูที่มีอายุต่ำกว่า 3 วัน กลไกที่คาบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายยังไม่ทำงาน จึงไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความผันแปรของอุณหภูมิภายนอกได้ ลูกหมูแรกเกิดที่ถูกความหนาวเย็นมาก ๆ หรือเป็นเวลานาน ๆ อุณหภูมิของร่างกายจะลดลงจะเป็นผลให้ลูกหมูตัวนั้นตายได้๒. การป้องกันลมโกรก ไม่ควรปล่อยให้ลูกหมูถูกลมโกรก เช่น ให้ลูกหมูอยู่ในคอกที่โปร่งมากหรือมีพื้นเป็นไม้ระแนง เพราะจะทำให้ลูกหมูเจ็บป่วยได้ง่าย บริเวณสำหรับลูกหมูแรกคลอดหลับนอนควรมีที่กำบังลมไว้ประมาณ 3-4 วัน จะช่วยให้ลูกหมูไม่ถูกลมโกรกมากนัก อย่างไรก็ตาม คอกลูกหมูก็ไม่ควรปิดทึบเพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เวลาคอกเปียกชื้นจะแห้งยากทำให้เกิดเชื้อโรค ลูกหมูจะเจ็บป่วยได้ง่ายเช่นกัน๓. การรักษาความสะอาดคอก คอกที่ใช้เลี้ยงลูกหมูควรทำความสะอาดอยู่เป็นประจำ พื้นคอกตลอดจนบริเวณที่ลูกหมูนอนควรจะแห้งและสะอาดอยู่เสมอ ถ้าจำเป็นที่จะต้องล้างทำความสะอาด เนื่องจากคอกสกปรก ควรขังลูกหมูเอาไว้ก่อน อย่าปล่อยออกมาให้ตัวเปียกน้ำ ลูกหมูอาจจะหนาวสั่นและเจ็บป่วยได้ เมื่อเห็นว่าคอกแห้งพอสมควรดีแล้วจึงปล่อยลูกหมูตามเดิม๔. การตัดสายสะดือ ก่อนอื่นควรมัดสายสะดือเพื่อป้องกันเลือดออกหลังตัด ควรตัดให้เหลือสายสะดือยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร เมื่อลูกหมูยืนขึ้นสายสะดือจะได้ไม่ติดพื้นคอก จากนั้นเช็ดแผลที่ตัดแล้วด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน สายสะดือเป็นส่วนสำคัญที่เชื้อโรคจะเข้าสู่ตัวลูกหมูได้ การเจ็บป่วย เช่น ลูกหมูขาเจ็บหรือตายอาจจะมาจากการละเลยการปฏิบัติดังกล่าว๕. การตัดฟันและการตัดหาง ควรตัดภายหลังที่ลูกหมูคลอดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง การตัดฟันและหางนี้ควรทำพร้อมกัน ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการจับต้องลูกหมูหลาย ๆ ครั้ง๖. การป้องกันโรคโลหิตจาง โรคโลหิตจางในลูกหมูมักเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ทั้งนี้เพราะลูกหมูมีความต้องการธาตุเหล็กมากเกินกว่าที่ได้รับจากน้ำนมแม่ เนื่องจากลูกหมูมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วและธาตุเหล็กที่เก็บสำรองในตัวลูกหมูที่เกิด ใหม่มีอยู่จำนวนน้อย เพื่อป้องกันโรคนี้ผู้เลี้ยงควรฉีดธาตุเหล็กให้ลูกหมูประมาณ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อลูกหมูอายุได้ 3 วัน ครั้งถัดไปเมื่อลูกหมูมีอายุได้ 2-3 สัปดาห์๗. การตอนลูกหมูตัวผู้ ลูกหมูตัวผู้ที่ไม่เก็บไว้ทำพันธุ์ จะตอนเมื่ออายุเท่าใดก็ได้ แต่ที่เหมาะคือเมื่ออายุได้ 2 หรือ 3 สัปดาห์ ในช่วงนี้อันตรายจากการตอนมีน้อยกว่าช่วงที่ลูกหมูโตแล้ว เพราะจับลูกหมูได้ง่ายกว่า และแผลก็จะหายเร็วกว่าด้วย๘. การหัดให้กินอาหารแห้ง ก่อนลูกหมูหย่านมอย่างสมบูรณ์ เมื่อลูกหมูมีอายุได้ 1 หรือ 2 สัปดาห์ ควรหัดให้กินอาหารบ้างลูกหมูที่เคยหัดให้กินอาหารตั้งแต่เล็ก โดยทั่วไปเมื่อหย่านมจะเรียนรู้การกินอาหารได้เร็วกว่าพวกที่ไม่เคยหัดเลย